วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

รายได้ประชาชาติ


รายได้ประชาชาติ หมายถึง มูลค่าเป็นตัวเงินของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ตามราคาตลาดที่ผลิตขึ้นด้วยทรัพยากรของประเทศ ในระยะเวลา 1 ปี
รายได้ประชาชาติ คำนวณได้ 3 วิธี คือ
1. การคำนวณจากด้านผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการรวมมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประเทศผลิตขึ้น
ในระยะเวลา 1 ปี
2. การคำนวณจากด้านรายได้ เป็นการรวมรายได้ทุกประเภทที่เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับจากการขายปัจจัยให้แก่ ผู้ผลิต
3. การคำนวณจากด้านรายจ่าย เป็นการคำนวณโดยการนำรายจ่ายของประชาชนในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายรวมกัน ในระยะเวลา 1 ปี
ตัวเลขรายได้ประชาชาติ มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการศึกษาสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ การเงิน และการคลังของประเทศ ขณะเดียวกัน ก็มีข้อจำกัดในการใช้ตัวเลขรายได้ประชาชาติ และเป็นเครื่องวัดประสิทธิภาพในการผลิตของประเทศ และสวัสดิการทางเศรษฐกิจ


การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านผลผลิต (Product Approach) เป็นการหามูลค่าของผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิในราคาทุน (Net National Product at factor Cost : NNP at factor cost)
ขั้นตอนการคำนวณ
1. คำนวณมูลค่า "ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้นในราคาตลาด" (Gross Domestic Product at market price : GDP at market price)
2. จากค่า GDP จะนำมาหาค่า "ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นในราคาตลาด" (Gross National Product at market price : GNP at market price)
3. คำนวณหาค่า "ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิในราคาตลาด" (Net National Product at market price : NNP at market price)
4. ปรับค่า NNP ในราคาตลาดให้เป็น NNP ในราคาทุน ซึ่งในที่นี้ คือ รายได้ประชาชาติ (National Income : NI) นั่นเอง

การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายได้ (Income Approach)
การรวมรายได้ประเภทต่างๆ ที่บุคคลได้รับในฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ในรอบระยะเวลาใด
เวลาหนึ่ง

รายได้ที่ไม่นำมาคิดรวมในรายได้ประชาชาติ
1. เงินโอน
2. เงินที่ได้รับจากการชำระหนี้หรือจากการขายทรัพย์สินที่มีอยู่แล้ว
3. เงินที่ได้รับจากการกระทำผิดกฎหมาย

ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ
1. สินค้าและบริการขั้นสุดท้ายบางอย่างได้มีการผลิตจริง แต่ไม่ได้ซื้อขายผ่านตลาด จึงไม่มีการบันทึก
ไว้ในรายได้ประชาชาติ
2. สินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่มีการซื้อขายกันจริงแต่ไม่ได้มีการบันทึกรวมไว้ในรายได้ประชาชาติ
เนื่องจากเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
3. รายได้ที่เกิดจากอาชีพอิสระต่างๆ ที่ไม่มีการบันทึกหรือบันทึกต่ำกว่าความเป็นจริงทำให้รายได้ประชาชาตินั้นต่ำกว่าความเป็นจริง
4. รายได้ประชาชาติ ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อ เวลาว่างหรือเวลาพักผ่อน (leisure) ของบุคคล
5. รายได้ประชาชาติไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการกระจายสินค้าและบริการว่าถูกแบ่งสรรอย่างไร
6. รายได้ประชาชาติไม่คำนึงถึงความเสียหายที่การผลิตก่อให้เกิดขึ้นแก่สังคม

ประโยชน์ของรายได้ประชาชาติ
1. เป็นเครื่องมือชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ
2. เป็นเครื่องมือกำหนดนโยบายและวางแผนเศรษฐกิจ
3. ใช้เปรียบเทียบฐานะเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
4. ใช้เปรียบเทียบมาตรฐานการครองชีพของประชากร
5. เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บภาษาอากร


ที่มา www.arts.kmutnb.ac.th/mainpage/images/Document/social/ch12.ppt